WE ARE SOLDOUT

Days
Hrs
Mins
Secs

Blog

การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติและพลังของภาวะผู้นำในท้องถิ่น

01 June 2017

By

Saveetha Meganathan

Share

27 มกราคม 2560

“มันเป็นคลื่นลูกใหญ่มาก พวกเขาเรียกมันว่าสึนามิ ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนในชีวิตของผม หมู่บ้านทั้งหมดของผมถูกมันกวาดไป ผมได้รับความช่วยเหลือขณะเดินทางไปในเมือง” ฉันจำคำพูดของชาวประมงวัย 65 ปีที่มาจากหมู่บ้านชายทะเลในเมืองนาเคอร์คอยล์(Nagercoil), รัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) หลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในปี 2547 ฉันได้พบกับเรื่องราวโศกนาฏกรรมอีกมากมายในฐานะอาสาสมัครผู้ช่วยบรรเทาทุกข์ ฉันรู้สึกว่าช่วยอะไรไม่ได้นอกจากรวบรวมความกล้าหาญเพื่อปลอบประโลมผู้รอดชีวิต

ภัยพิบัติสามารถสร้างผลกระทบอย่างหนัก มักเกิดขึ้นขณะที่เราไม่ตั้งตัวและทำให้ทุกอย่างชะงัก โดยเฉพาะเมื่อเราไม่ได้เตรียมตัวรับมัน แล้วการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติคืออะไร? การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติตามคำนิยามของ International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies (IFRC) คือ มาตรการเพื่อเตรียมและลดผลกระทบจากภัยพิบัติ กล่าวคือ การทำนาย การป้องกันภัยพิบัติเท่าที่เป็นไปได้ การบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชากรกลุ่มเปราะบาง(vulnerable populations) และการตอบสนองและรับมือผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ”

มูลนิธิสาธารณประโยชน์ด้านภัยพิบัติ (Disaster Philantrophy) ในเอเชียและส่วนอื่น ๆ ของโลกมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนด้านการบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟู นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมา เราสามารถเห็นความสำคัญของการลงทุนในโครงการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติและโครงการลดความเสี่ยงที่สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้มากขึ้น ลดความรุนแรงของอันตราย และช่วยให้ชุมชนสามารถฟื้นตัวในระยะยาว ตัวอย่างเช่น เมื่อพายุไซโคลนไพลิน (Phailin) ขึ้นฝั่งที่ฐโอริศาทางอินเดียวตะวันออก ด้วยอัตราความเร็วลม 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในปี 2013 ประชนชากว่า 700,000 คนได้ถูกอพยพ เช่นเดียวกัน ฟิลิปปินส์และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วม องค์กรระดับชุมชน (CBOs)ในประเทศเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติและเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวของชุมชน

เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติมากที่สุดในโลก และกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับมูลนิธิสาธารณประโยชน์ด้านภัยพิบัติจะเป็นการลงทุนกับการสนับสนุนองค์กรระดับชุมชนในท้องถิ่นทั่วเอเชียโดยตรง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ วิธีนี้จะช่วยชีวิตและทรัพยากร และช่วยให้ชุมชนนั้นมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น การตระหนักถึงพลังของชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวทางจากล่างขึ้นบน ในกิจกรรมการวางแผนและกำหนดนโยบายของรัฐบาลแห่งชาติและสถาบันธรรมาภิบาลโลก(Global governance institutes) การสนับสนุนและฟูมฟักนวัตกรรมขององค์กรระดับชุมชนในท้องถิ่นเช่น ระบบการแจ้งเตือนน้ำท่วมและพายุใต้ฝุ่นตั้งแต่เนิ่นๆ การลงทุนในกลยุทธการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เช่น โครงการรณรงค์ด้านความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ กิจกรรมเสริมศักยภาพด้านการวางแผนการอพยพฉุกเฉิน และการวางแผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติได้ง่าย การลงทุนในการเตรียมพร้อมเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพสูงและเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวแก่ชุมชน

ทั้งนี้ เราจำเป็นที่ต้องกล่าวถึง เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) และ เป้าหมายการพฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติที่ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความพยายามร่วมกันในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (DRR) ข้อเสนอแนะเรื่องแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ (SDG) นั้นสามารถลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรงอันนำไปสู่ภัยพิบัติ บางทีมูลนิธิสาธารณประโยชน์ด้านภัยพิบัติควรพัฒนาไปสู่การลงทุนในทรัพยากรที่จัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนในท้องถิ่น (CBOs) กลยุทธ์ในการให้ข้อมูลแก่มูลนิธิสาธารณประโยชน์ด้านภัยพิบัติเพื่อลงทุนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการเตรียมพร้อมมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในบริบทของชุมชนที่ขาดแคลนและเปราะบาง

ในปี 2557 Give2Asia และ สถาบันบูรณะพื้นที่ชนบทนานาชาติ (International Institute of Rural Reconstruction: IIRR) เปิดตัวโครงการ NGO Disaster Preparedness Program โดยมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของ Give2Asia ในการดึงดูดผู้บริจาคเพื่อสนับสนุนโครงการฟื้นฟูความเสียหายที่นำโดยคนในท้องถื่น และการทำงานของIIRR โดยตรงกับผู้ยากไร้ในชนบทที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภัยพิบัติในเอเชีย โครงการนี้ได้สั่งสมประสบการณ์มากมายในแง่ของการบ่มเพาะนวัตกรรมภายในองค์กรระดับชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ตอบสนองต่อภัยพิบัติใดๆ เป็นรายแรก และยังมีบทบาทสำคัญในโครงการบรรเทา ฟื้นตัวและเตรียมความพร้อมในอนาคต

ในเดือนมีนาคมนี้ Give2Asia และ IIRR จะเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติในหัวข้อ “การเตรียมพร้อมรับกับภัยพิบัติและพลังของภาวะผู้นำในท้องถิ่น” เพื่อนำให้เกิดการร่วมพูดคุย ระหว่างองค์กรระดับชุมชนในท้องถิ่น และกลุ่มมูลนิธิสาธารณประโยชน์ โดยการร่วมปันความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของชุมชนท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงมากที่สุด นอกจากนี้ ในงานจะมีผู้นำตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชุมชนมาร่วมอภิปรายความท้ายทายของการสร้างผลกระทบที่แท้จริงในระดับรากหญ้า เนื่องจากการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติเป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบของภัยพิบัติในอนาคต การประชุมนี้สร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มมูลนิธิสาธารณประโยชน์และแหล่งความรู้ท้องถิ่นขององค์กรชุมชนในท้องถิ่น ผ่านบทสนทนาที่เปิดกว้าง และประชุมนี้จะขยายขอบเขตเวทีแบ่งปันความรู้ให้กว้างออกไปยิ่งขึ้น

References

A. Environmental Stewardship
To protect the environment, we organize programmes like mangrove nursery and Reforestation, Coastal and River Clean-Up, Community Based Environmental Solid Waste Management, Environmental IEC Campaign and Eco-Academy

B. Food Security and Sustainable Livelihood
To ensure a sustainable livelihood for the community, eco-tourism include Buhatan River Cruise Visitor Center Buhatan River Mangrove Boardwalk are run by the community. Others include Organic Vegetable and Root crops Farming, Vegetable and Root crops Chips and by-products Processing and establishing a Zero waste store.

C. Empowered Communities
To empower the community, we provide product and Agri-Enterprise Development Training, Immersion and Learnings Exchange Program, Earth Warrior Training and Community Based Social Entrepreneurship Training

Author

Saveetha Meganathan

Saveetha Meganathan has previously served as the Manager of the Disaster Programs at Give2Asia. She has a Master’s degree in Social Work from the Tata Institute of Social Sciences, Mumbai. She has eight years of field experience in the development sector and has predominantly worked with the tribal communities in central India on the issues of access to public health system, maternal and child health, nutrition security and bioethics.

Did you enjoy reading this?

You might also be interested in

Blog

5 Ways Impact Investors Are Funding the UN SDGs in Asia

Blog

Who’s Bridging the “Missing Middle” in Social Investment in Southeast Asia?

Blog

The China Charity Fair 2015