WE ARE SOLDOUT

Days
Hrs
Mins
Secs

Blog

การลงทุนเพื่อสังคมจะเป็นอนาคตของเกษตรกรรายย่อยในเอเชียได้หรือไม่

By

Martina Mettgenberg-Lemiere

Share

20 มกราคม 2560
โดย อัน เหงียน

ดิฉันมีพื้นเพมาจากประเทศเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก การพัฒนาการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่ดิฉันให้ความสำคัญ การเข้าร่วมศูนย์ความรู้ของเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย(AVPN) ได้เปิดโอกาสพิเศษให้ฉันตามทันการพัฒนาของการลงทุนเพื่อสังคม และเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้เห็นว่าภาคเกษตรกรรมเป็นภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านการลงทุนตามที่วางแผนไว้(planned investments) ตามการสำรวจผลกระทบต่อผู้ลงทุนรายปี 2559 โดยเครือข่ายการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบทั่วโลก (Global Impact Investing Network: GIIN)

การเกษตรมีการใช้แรงงาน 35% – 50% ของกำลังแรงงานจากประเทศกำลังพัฒนาในทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย [1] แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งทางการเกษตรของผลผลิตในระดับชาตินั้นลดลงเร็วกว่าการจ้างงาน คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2583 ส่วนแบ่งการจ้างงานในภาคการเกษตรยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 20% [2]ในประเทศส่วนมากของเอเชีย ขณะที่ส่วนแบ่งการผลิตทางการเกษตรจะลดลงต่ำกว่า 20% การผลิตของผู้ผลิตรายย่อยจะมีมากขึ้น โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ครอบครองพื้นที่น้อยกว่า 2 เฮคเตอร์ ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อความเครียดเนื่องจากสิ่งแวดล้อม (environmental stress) และความไม่สมมาตรของข้อมูล(information asymmetry) การสร้างห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรที่แข็งแรงและยั่งยืนจึงเป็นกุญแจสำคัญในการบรรเทาความยากจนและการเติบโต

ในขณะที่รัฐบาลและหน่วยงานด้านการพัฒนามักเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาการเกษตรผู้ลงทุนเพื่อสังคมก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างรวดเร็วในเอเชีย วิธีการจัดการแบบหลายแง่มุม (multi-pronged) และหลายภาคส่วน (multi-sector) ได้สร้างและติดตามการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนทางการเกษตร การลดความยากจนและปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นบางครั้ง โครงการที่เน้นผลกระทบหลากหลายรูปแบบได้เกิดขึ้นจากการริเริ่มของภาคเอกชนเหล่านี้ ตั้งแต่ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดยตรงแก่เกษตรกร การวิจัยและพัฒนาทางการเกษตร การเข้าถึงตลาด การค้าปลีกทางการเกษตร ไปจนถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างจากสมาชิกเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย(AVPN)
Livelihoods Venture ที่มีฐานอยู่ที่กรุงปารีส เป็นผู้ลงทุนทางสังคมที่มีความทะเยอทะยานด้วยแนวคิดแบบสร้างสมดุลระหว่างมุมมองด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (triple bottom line) โครงการกองทุนเพื่อเกษตรกรรมในครัวเรือนขององค์กรนี้ ตั้งขึ้นโดย ดาโนนและมาร์(Danone และ Mars) ในปี 2558 กำลังลงทุนด้วยจำนวนเงิน 141ล้านเหรียญ ในแอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกาสำหรับช่วง 10 ปีข้างหน้า เพื่อจัดการปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยากจนในชนบทไปพร้อมๆกัน ผลงานปัจจุบันของพวกเขาในเอเชียประกอบด้วยโครงการปลูกป่าชายเลนและวนเกษตรในอินเดีย 2 โครงการ และโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนในอินโดนีเซียอีก 1 โครงการ Monsanto เป็นอีกหนึ่งผู้ลงทุนทางสังคมที่กระตือรือร้นในการทำการเกษตรแบบยั่งยืนในเอเชีย

โครงการ Monsanto Growth Ventures ลงทุนในบริษัทต่างๆตั้งแต่ระดับ Seed Stage จนถึง ระดับSeries A และมากกว่านั้น โดยจะเน้นด้านผลผลิตทางการเกษตร ชีวภาพและการเกษตรแบบดิจิตอล

LGT Impact Ventures เป็นหนึ่งในการลงทุนเพื่อสังคม ของตระกูล พรินซ์ลี (Princely) แห่ง ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein) ที่ลงทุนในกิจการการเกษตรต่าง ๆ ในประเทศจีน อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์และไทย โครงการ Shangrila Farms ในประเทศจีนเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่รับผิดชอบต่อสังคมซึ่งทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร โครงการ Kakoa and Kennemer Foods ก็ได้พัฒนาวิถีชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้รายย่อยในประเทศอินโดเนเซียและฟิลิปปินส์ตามลำดับ โครงการ Grassroots Innovation and Hilltribe Organics ได้จัดระเบียบและอำนวยการเข้าถึงตลาดโดยตรงแก่เกษตรกรในประเทศไทย

Unitus Capital สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมที่เน้นเกษตรกรรมสองแห่งในประเทศอินโดเนเซีย ( Vasham และ Big Tree Farms) และหนึ่งบริษัทแปรรูปเกษตรในประเทศอินเดีย (โครงการ LEAF) Vasham นั้นช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยด้านการจัดหาเงินทุน ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และการวางแผนการทางเงิน (income security) โดยร่วมกับสถาบันทางการเงิน บริษัทการเกษตร รัฐบาล และ องค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs) Big Tree Farms เป็นบริษัท supply chain แบบบูรณาการในแนวตั้งที่ทำงานร่วมกับเกษตรกรสวนมะพร้าว ส่วน LEAF เป็น บริษัท ด้านการจัดการการเกษตรแบบครบวงจรในอุตสาหกรรมผักและผลไม้

East Ventures สนับสนุนสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มที่จะเติบโต โดยให้เงินสนับสนุนในระยะเริ่มต้นและการพัฒนาขีดความสามารถผ่าน co-working spaces ของ East Ventures ในอินโดนีเซียและญี่ปุ่น บริษัทได้มีการลงทุนอย่างแข็งขันในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรในอินโดนีเซีย เช่น Eragano, Limakilo และ iGrow Eragano โดย Eragano มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้ผลิตรายย่อย ด้วยวิธีแบบครบวงจร(end-to-end) ผ่านการใช้แอพในมือถือ ส่วน Limakilo เชื่อมเกษตรกรโดยตรงกับผู้บริโภคโดยเน้นที่หัวหอมแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของอินโดนีเซีย และ iGrow เป็นตลาดสำหรับเกษตรกรที่ผลิตอาหารอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง

กองทุนเพื่อธุรกิจ (Business Fund) Aavishkaar และ Grassroots สนับสนุน ธุรกิจการเกษตร ในอินเดียและอินโดนีเซียในหลายภาคส่วน ได้แก่ ผลไม้สด, พืชผัก,พืชสวน, ฝ้ายและนม Evergreen Labs มุ่งที่จะจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารในประเทศเวียดนาม โดยนำผลผลิตของเกษตรกรไปให้กับผู้บริโภคโดยตรง บริษัทยังได้ลงทุนกัน Skyfarm ซึ่งเป็นบริษัท ที่เชี่ยวชาญในการออกแบบและติดตั้งระบบไฮโดรโปนิกส์และหลังคาสีเขียว(green roofs)

จากการที่เห็นความกระตือรือร้นกระตือรือร้นต่อการเกษตร การลงทุนเพื่อสังคมจึงมีดุลยภาพที่จะกลายเป็นกลไกหลักสำหรับการเติบโตทางการเกษตร ในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย มีการรวมพลังให้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ระหว่างรัฐบาล, หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ, ภาคประชาสังคม, กิจการเพื่อสังคม และนักลงทุนเพื่อสังคม หากมีการควบคุมที่ดี การลงทุนเพื่อสังคมอาจช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยเร่งการขจัดความยากจนในชนบทและการปกป้องสิ่งแวดล้อม ในเวลานี้ เครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย(AVPN) เป็นพันธมิตรกับ Oxfam และ ASEAN CSR Network ในงานวิจัยที่มุ้งเน้นด้านการจัดหาเงินทุนให้กิจการขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง รอติดตามกันต่อไปนะคะ

[1] World Bank. 2016. World Development Indicators. http://data.worldbank.org/data-catalog/world-development-indicators.
[2] Briones, R. and J. Felipe. 2013. “Agriculture and Structural Transformation in Developing Asia: Review and Outlook.” ADB Working Paper No. 363, ADB, Manila. www.adb.org/sites/default/files/publication/30380/ewp-363.pdf

อัน เหงียนเป็นผู้จัดการความรู้ที่เครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย(AVPN) เธอได้นำความหลงไหลในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง และประสบการณ์ที่หลากหลายในด้านการเงิน, การศึกษาและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรมาใช้ในการทำงานตำแหน่งนี้ ล่าสุด อัน เป็น Research Fellow ที่ Lee Kuan Yew School of Public Policy มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ที่ซึ่งเธอได้ร่วมเขียนหนังสือสองเล่มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ ของประเทศในอาเซียน, บทความวิชาการวารสารเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์และมาเลเซีย และความคิดเห็นจากบรรณาธิการ(Editorial Opinion) เกี่ยวกับประเทศเวียดนามให้กับ Strait Times ก่อนหน้านั้น อันเป็นนักศึกษาฝึกงาน (Research Intern) ที่ Mekong Institute ในจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่ดำเนินโครงการเพิ่มขีดความสามารถสำหรับประเทศในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนั้นเธอยังเคยทำงานที่ Bloomberg L.P., OCBC และ DBS อัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านด้านการพัฒนา(Development Studies) จาก London School of Economics and Political Science (LSE) และปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จาก Nanyang Technological University

References

A. Environmental Stewardship
To protect the environment, we organize programmes like mangrove nursery and Reforestation, Coastal and River Clean-Up, Community Based Environmental Solid Waste Management, Environmental IEC Campaign and Eco-Academy

B. Food Security and Sustainable Livelihood
To ensure a sustainable livelihood for the community, eco-tourism include Buhatan River Cruise Visitor Center Buhatan River Mangrove Boardwalk are run by the community. Others include Organic Vegetable and Root crops Farming, Vegetable and Root crops Chips and by-products Processing and establishing a Zero waste store.

C. Empowered Communities
To empower the community, we provide product and Agri-Enterprise Development Training, Immersion and Learnings Exchange Program, Earth Warrior Training and Community Based Social Entrepreneurship Training

Author

Martina Mettgenberg-Lemiere

Martina Mettgenberg Lemiere, PhD, is Head and founding member of Insights and Capacity Building at AVPN’s Knowledge Centre. In this role, she and her team developed insights for impact assessment, capacity building, the social investment landscape in Asia and the education landscape in India and the continuum of capital initiative. She designs and runs workshops for AVPN and frequently speaks on social investing at Asian and global events. She also is a mentor and enterprise judge in several settings. Over the last 10 years, she lead applied research for social investors, businesses and non-profits focusing on human capital, education and impact at INSEAD, HCLI Singapore, Evalueserve India, and NGOs and investment agencies in Britain. She taught at Universities of Manchester and Sussex and holds a PhD from Manchester Business School and an MSc and BA (Hons) in Anthropology from the University of Sussex and Manchester respectively.

Did you enjoy reading this?

You might also be interested in

Blog

Is Digital Agility the Key to Success in the 21st-Century Classroom? A Perspective From Vietnam

Blog

Harnessing the Potential of EdTech

Blog

Fund Resilience: Create Systemic Change by Working at the Nexus of Climate and Gender