WE ARE SOLDOUT

Days
Hrs
Mins
Secs

Blog

ประเทศจีนวิสาหกิจเพื่อสังคมใบรับรอง

By

Clive YE

Share

เกียรติบัตรรับรองกิจการเพื่อสังคมของจีน
โดย คลีฟ เหย่
16 ธันวาคม 2559

แม้จะมีกิจการเพื่อสังคมออกมาให้เห็นน้อย แต่จีนได้มอบเกียรติบัตรรับรองกิจการเพื่อสังคมในปี 2558 ในงานแฟร์การกุศลแห่งประเทศจีน (China Charity Fair: CCF) ซึ่งเป็นงานการกุศลระดับประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่จัดขึ้นทุกปี ใบประกาศนี้เป็นการรับรองอย่างไม่เป็นทางการที่ริเริ่มและสนับสนุนโดยองค์กรยักษ์ใหญ่ของจีน ได้แก่ 2 สถาบันการศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) และสถาบันการกุศลระดับโลกประจำชาติจีน (China Global Philanthropy Institute) รวมถึงศูนย์วิจัยกิจการเพื่อสังคม มูลนิธินาราดา (Narada Foundation) และ Mshan ซึ่งเป็นคณะผู้จัดงานแฟร์ครั้งนี้

สำหรับการจัดงานแฟร์การกุศลแห่งประเทศจีนประจำปี 2559 เครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย (AVPN) มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งใน 9 กรรมการคัดเลือกซึ่งตั้งใจสรรหากิจการเพื่อสังคมที่ได้รับการรับรองเป็นรุ่นที่ 2 โดยมีการประกาศกิจการเพื่อสังคมที่ได้รับเลือกทั้ง 16 องค์กรและมีการฉลองรับตำแหน่ง ซึ่งทำให้ขณะนี้ จีนมีกิจการเพื่อสังคมที่ได้รับการรับรองทั้งสิ้น 23 องค์กร

การรับรองกิจการเพื่อสังคมนี้จะมีระยะเวลา 3 ปี แม้เกียรติบัตรนี้ไม่ได้ออกโดยรัฐบาล กิจการเพื่อสังคมที่ได้รับเกียรติบัตรนี้จะได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการสนับสนุนอื่นๆจากองค์กรที่มอบเกียรติบัตร กิจการเหล่านี้ยังได้รับอนุญาตให้ใช้โลโก้รับรองกิจการเพื่อสังคมบนผลิตภัณฑ์และสื่อที่ใช้ในการทำการตลาดด้วย

คุณสมบัติของธุรกิจที่ได้รับเกียรติบัตรรับรองกิจการเพื่อสังคม
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย (AVPN) ได้เสนอมุมมองของผู้ที่คลุกคลีในวงการนี้ในการคัดเลือกธุรกิจดังกล่าว ธุรกิจที่เข้าร่วมการคัดเลือกจะต้องมีคุณสมบัติทั้ง 4 ด้านต่อไปนี้ จึงจะสามารถได้รับเกียรติบัตรรับรองได้

1. พันธกิจทางสังคม องค์กรนั้นๆ จะต้องมีเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจนในข้อบังคับของบริษัท
2. การจดทะเบียน องค์กรจะต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือเป็นองค์กรการกุศลเป็นเวลามากกว่า 1 ปี
3. โครงสร้างการบริหารงาน องค์กรจะต้องมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน และมีพนักงานประจำไม่น้อยกว่า 3 คน
4. แหล่งรายได้ องค์จะต้องมีรายได้ที่ยั่งยืน ซึ่ง 50% ของรายได้นั้นต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ (รวมถึงการซื้อบริการจากภาครัฐ)

หัวข้อที่สำคัญหัวข้อหนึ่งที่ขาดไปในเกณฑ์ด้านบนคือ กำไร เราเรียนรู้จากกิจกรมนี้ว่า ความเชื่อสำคัญที่มีมานานในจีนคือ การที่เป็นกิจการเพื่อสังคมได้นั้น กำไรที่ได้จะต้องหมุนกลับไปใช้ในธุรกิจ หรือพูดอีกอย่างก็คือ ผู้ให้ทุนไม่สามารถได้รับผลประโยชน์จากกิจการ ไม่ว่าจะระหว่างการดำเนินธุรกิจ หรือเมื่อถอนตัวออกจากกิจการ อย่างไรก็ตาม สถานะเช่นนี้ของผู้ให้ทุนมีความผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงหลังๆ เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจมีส่วนร่วมในภาคสังคมมากขึ้น
นี่เป็นสิ่งที่ทีมของเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเชียสนใจ เราได้สรุปคำนิยามของกิจการเพื่อสังคมในการหารือนโยบายแห่งเอเชีย ที่ประเทศพม่า ซึ่งประเด็นคำถามเรื่องกำไร เป็นประเด็นที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง น่ายินดีที่ได้เห็นจีนกำลังโอกาสนี้ก้าวไปข้างหน้า โดยที่ไม่ปล่อยให้การนิยามแบบขาวดำมาขัดขวางกระบวนการหารือดังกล่าว

คลีฟ เหย่ เป็นผู้จัดการบริการสมาชิกของ AVPN ก่อนที่จะทำงานที่ AVPN เขาได้ใช้เวลา 1 ปีในการดำเนินโครงการ incubator สำหรับกิจการเพื่อสังคมระดับภูมิภาค ร่วมกับมูลนิธิ Singapore International ก่อนหน้านั้น เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาการบริหารที่บริษัท PwC Consulting โดยมีความเชี่ยวชาญด้าน Supply Chain และ Finance คลีฟยังเคยร่วมก่อตั้ง tech startup ที่ซีแอทเทิลหลังจากเรียนจบ บริษัทเขาได้รับเลือกเป็น 10 บริษัทที่เข้าร่วมโคงรงการ Microsoft Kinect Accelerator สนับสนุนโดย Techstars

คลีฟเป็นชาวจีน จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการจาก Singapore Management University ด้วยทุนเต็มจำนวน และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Harbin Institute of Technology ประเทศจีน

References

A. Environmental Stewardship
To protect the environment, we organize programmes like mangrove nursery and Reforestation, Coastal and River Clean-Up, Community Based Environmental Solid Waste Management, Environmental IEC Campaign and Eco-Academy

B. Food Security and Sustainable Livelihood
To ensure a sustainable livelihood for the community, eco-tourism include Buhatan River Cruise Visitor Center Buhatan River Mangrove Boardwalk are run by the community. Others include Organic Vegetable and Root crops Farming, Vegetable and Root crops Chips and by-products Processing and establishing a Zero waste store.

C. Empowered Communities
To empower the community, we provide product and Agri-Enterprise Development Training, Immersion and Learnings Exchange Program, Earth Warrior Training and Community Based Social Entrepreneurship Training

Author

Clive YE

Clive Ye is AVPN’s Membership Services Manager. Prior to AVPN, Clive has spent a year running a regional social enterprise incubator program with Singapore International Foundation. Before that, he worked in PwC Consulting as a management consultant and specialized in Supply Chain and Finance. Clive also co-founded a tech startup in Seattle after graduation and his company was selected among other ten finalist companies globally into Microsoft Kinect Accelerator, powered by Techstars. Clive is a Chinese national. He obtained MSc in Management from Singapore Management University with full scholarship and also holds a BEng in Electrical Engineering from Harbin Institute of Technology, China.

Did you enjoy reading this?

You might also be interested in

Blog

Economic Empowerment for Asia’s Women Requires More Support

Blog

How Can New Family Offices/Angel Investors Maximise Impact?

Blog

Organ-on-Chip: Transforming Drug Development with Innovate in India