WE ARE SOLDOUT

Days
Hrs
Mins
Secs

Blog

3 กลยุทธ์สำหรับการวัดผลกระทบทางสังคมให้ประสบผลสำเร็จ

By

Martina Mettgenberg-Lemiere

Share

22 ธันวาคม 2559
ผู้เขียน: เควิน ทีโอ และมาตินา เมทเกนเบิร์ก-ลีเมียร์

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย (Asian Venture Philanthropy Network: AVPN) ได้จัดการการอบรมการวัดผลกระทบทางสังคม โดยร่วมมือกับ Social Venture International (องค์กรวัดคุณค่าทางสังคม) และ Dasra (องค์กรการกุศลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม) ที่เมืองเดลี ประเทศอินเดีย

ระหว่าง 2 วันของการอบรม ผู้เข้าร่วมได้เข้าถึงวิธีการวัดผลทางสังคมต่างๆ และนำไปปฏิบัติได้จริง ได้แก่ ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) การวัดผลงานเชิงดุลยภาพ (Balanced Scorecard) และการสร้างคุณค่าทางสังคม (Social Value Creation) เครื่องมือทั้ง 3 อย่างเป็นวิธีพื้นฐานที่สำคัญซึ่งทุกองค์กรควรลงมือปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการวัดผลกระทบขององค์กรนั้นจะประสบผลสำเร็จ

1. ผลกระทบที่องค์กรสร้างนั้นก็คือห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร การวัดผลกระทบจึงต้องดำเนินตามห่วงโซ่คุณค่านั้นๆ

ผู้ให้ทุนจะให้การสนับสนุนแก่องค์กรภาคสังคม โดยตั้งเป้าให้เกิดผลกระทบตามที่คาดไว้ องค์กรดังกล่าวจะเป็นผู้สร้างผลกระทบแก่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ในท้ายที่สุด ตัวอย่างเช่น ผู้ให้ทุนท่านหนึ่งอาจจะลงทุนกับองค์กรไม่แสวงหากำไรที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในอินเดีย ผลกระทบที่คาดหวังอาจเป็นการสร้างทักษะการอ่านที่ดีขึ้นสำหรับเด็กนักเรียน ผู้ให้ทุนจะไม่ได้เป็นผู้สร้างผลกระทบนั้นเอง แต่องค์กรภาคสังคมจะเปรียบเหมือนพาหนะที่นำไปสู่ผลกระทบดังกล่าว

การตระหนักถึงบทบาทของผู้ให้ทุนและองค์กรภาคสังคมนี้ สำคัญต่อการเลือกกรอบวิธีการและเครื่องมือสำหรับวัดผลกระทบต่างๆ ผู้ให้ทุนมักวางโครงสร้างการวัดผลกระทบทางสังคมโดยใช้เครื่องมือที่ต่างกันไปสำหรับจุดต่างๆในห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร

• ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เราเห็นภาพผลกระทบที่เกิดจากผู้ให้ทุนต่อองค์กรภาคสังคม และผลกระทบที่เกิดจากองค์กรภาคสังคมต่อผู้ได้รับประโยชน์
• การวัดผลงานเชิงดุลยภาพ (Balanced Scorecard) วัดผลกระทบที่เกิดจากผู้ให้ทุนต่อองค์กรภาคสังคม
• เครื่องมือวัดคุณค่าทางสังคม Social Value เน้นผลกระทบจากผู้ให้ทุนต่อผู้ที่ได้รับประโยชน์
เครื่องมือทั้ง 3 ชิ้นนี้จะครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด และสามารถใช้ผสมผสานกันเพื่อให้เห็นภาพของผลกระทบที่สร้างได้อย่างสมบูรณ์

2. การวัดผลกระทบทางสังคมต้องการการสนับสนุนในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการของทั้งองค์กร

เรามักจะเห็นหลายองค์กรที่เชื่อว่า การจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตามและประเมินผล หรือบุคคลภายนอกจะช่วยดูแลการความรับผิดชอบในส่วนนี้ได้ แต่โดยมากมักล้มเหลว ไม่ว่ารูปแบบการวัดผลที่คุณเลือกเป็นอย่างไร การวัดผลจะประสบความสำเร็จหากมีการสนับสนุนจากผู้บริหารและการดำเนินงานวัดผลทั่วทั้งองค์กร

องค์กรที่บริหารจัดการการวัดผลซึ่งรวมเข้าไปในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ได้แก่ Caspian Impact Advisers และ Lok Capital
Caspian Impact Advisers มีทีมบริหารที่ถนัดในการวัดข้อมูลเชิงลึก และสนันสนุนทีมติดตามและประเมินผลเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าองค์กรมีแผนงานภายในที่สอดรับกันและมีการแบ่งปันทรัพยากรที่ใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างทั่วถึง
สำหรับ Lok Capital นั้น เครื่องมือในการใช้วัดผลกระทบได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน และองค์กรเรียนรู้ข้อจำกัดต่างๆ ของตนเองจาการจ้างหน่วยงานภายนอก

3. การสื่อสารคือรากฐาน

องค์ประกอบสำคัญประการสุดท้ายสำหรับกลยุทธการวัดผลกระทบที่ประสบความสำเร็จคือการสื่อสารที่เหมาะสม ผู้ที่วัดผลกระทบได้อย่างมืออาชีพนั้นต้องสามารถสื่อสารกับคนหลากหลายระดับด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกันไป การวัดผลกระทบทางสังคมไม่เพียงแต่สำคัญต่อการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเท่านั้น แต่ยังต้องมีการจัดการสำหรับการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อช่วยขับเคลื่อนการตัดสินใจในอนาคต กลุ่มผู้ฟังทั้งสองนี้ต้องการเครื่องมือในการรายงานที่ต่างกัน

Dasra นิยมใช้วิธีการให้ความเห็นในที่ประชุมของทีมบริหาร ซึ่งเป็นหัวข้อการประชุมที่ทีมให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ และทำอย่างต่อเนื่อง องค์กรนี้ยังส่งรายงานประจำไตรมาสแก่ผู้บริจาค และเตรียมรายงานประจำปีสำหรับผู้อ่านกลุ่มที่กว้างขึ้น

Bridge Ventures จัดการประชุมความร่วมมือประจำปีที่ครอบคลุมวงจรของแหล่งทุนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงมีการนำเสนอโดยละเอียดให้แก่ผู้ลงทุนทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีการเผยแพร่รายงานผลกระทบทางสังคมประจำปี และรายงานสรุปสำหรับทุนแหล่งต่างๆโดยเฉพาะ ซึ่งรวมถึงผลจากการวัดผลงานของบริษัทที่ให้เปิดให้ลงทุนนั้นๆ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ มาตรวัดเปรียบเทียบ (Benchmark) และรัศมีของผลกระทบที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

SVhk ใช้รายงานสำหรับบอร์ดบริหาร และใช้เรื่องราวเชิงคุณภาพในการนำเสนอผลกระทบ องค์กรนี้มักใช้ข้อมูลรูปภาพ (infographic๗ เพื่อให้ข้อมูลดึงดูดผู้อ่านและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้อ่านทั้งในและนอกองค์กร

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดผลกระทบเชิงสังคม ลองอ่านคู่มือที่ใช้งานได้จริงของเราได้ที่ https://avpn.asia/2016/05/22/a-guide-to-effective-impact-assessment/

มาตินา เมทเกนเบิร์ก-ลีเมียร์ (Martina Mettgenberg-Lemiere) เป็นหัวหน้าทีมเสริมสร้างศักยภาพและข้อมูลเชิงลึก ประจำศูนย์ความรู้ของเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย (AVPN) มาตินามีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยประยุกต์สำหรับธุรกิจและองค์กรไม่แสวงหากำไรมากว่า 10 ปี ซึ่งเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และผลกระทบต่างๆ เธอเป็นผู้นำโครงการหลายๆโครงการ ที่สถาบัน INSEAD และ สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำ Human Capital Leadership Institute ที่สิงคโปร์ ในขณะเดียวก็เป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักศึกษาด้านการประกอบการ และความรู้ทางการเงินที่โรงเรียนสอนธุรกิจขนาดเล็กที่ชื่อ aidha ก่อนหน้านี้ เธอทำงานด้านการวิจัยธุรกิจและการให้คำปรึกษาทางธุรกิจที่บริษัท Evalueserve และองค์กรอื่นๆ ในอินเดีย โดยเน้นงานด้านการบริการเกี่ยวกับการเงินและการธนาคาร มาตินายังเคยสอนที่ University of Manchester และ University of Sussex และเคยเป็นที่ปรึกษาอิสระสำหรับ NGO และหน่วยงานด้านการลงทุนที่ลอนดอน และแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ จบปริญญาเอกจาก Manchester Business

References

A. Environmental Stewardship
To protect the environment, we organize programmes like mangrove nursery and Reforestation, Coastal and River Clean-Up, Community Based Environmental Solid Waste Management, Environmental IEC Campaign and Eco-Academy

B. Food Security and Sustainable Livelihood
To ensure a sustainable livelihood for the community, eco-tourism include Buhatan River Cruise Visitor Center Buhatan River Mangrove Boardwalk are run by the community. Others include Organic Vegetable and Root crops Farming, Vegetable and Root crops Chips and by-products Processing and establishing a Zero waste store.

C. Empowered Communities
To empower the community, we provide product and Agri-Enterprise Development Training, Immersion and Learnings Exchange Program, Earth Warrior Training and Community Based Social Entrepreneurship Training

Author

Martina Mettgenberg-Lemiere

Martina Mettgenberg Lemiere, PhD, is Head and founding member of Insights and Capacity Building at AVPN’s Knowledge Centre. In this role, she and her team developed insights for impact assessment, capacity building, the social investment landscape in Asia and the education landscape in India and the continuum of capital initiative. She designs and runs workshops for AVPN and frequently speaks on social investing at Asian and global events. She also is a mentor and enterprise judge in several settings. Over the last 10 years, she lead applied research for social investors, businesses and non-profits focusing on human capital, education and impact at INSEAD, HCLI Singapore, Evalueserve India, and NGOs and investment agencies in Britain. She taught at Universities of Manchester and Sussex and holds a PhD from Manchester Business School and an MSc and BA (Hons) in Anthropology from the University of Sussex and Manchester respectively.

Did you enjoy reading this?

You might also be interested in

Blog

First Austrian SIB: Economic and Social Empowerment for Women Affected by Violence

Blog

Coca-Cola’s Stuart Hawkins Talks Water and Women

Blog

Overcoming the Barriers to Debt Financing for India’s Impact Enterprises