WE ARE SOLDOUT

Days
Hrs
Mins
Secs

Blog

งแนวโน้มการให้การร่วมทุนและการลงทุนเพื่อสังคม ในยุโรป

By

Martina Mettgenberg-Lemiere

Share

30 ธันวาคม 2559
โดย อะเลซเซีย เจียนอนเชลลี่

เมื่อเดือนที่แล้ว สมาคมนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งยุโรป(EVPA) ซึ่งเป็นองค์กรพี่น้องของเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย(AVPN) เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจในหัวข้อ “สถานะของการให้การร่วมทุน (venture philanthropy: VP) และการลงทุนเพื่อสังคม (VP/SI)ในยุโรป โดย EVPA ประจำปี 2558/2559” ซึ่งเป็นการสำรวจเพื่อวัดความเคลื่อนไหวในภาคการลงทุนเพื่อสังคมในยุโรป รายงานฉบับนี้ได้ให้ข้อมูลสำคัญในการกำหนดเกณฑ์อ้างอิง (benchmark) ขององค์กรต่างๆ และช่วยเหลือองค์กรที่สนใจสร้างผลกระทบทางสังคมเป็นอันดับแรกได้ตามทันองค์กรอื่น การสำรวจจัดทำในกลุ่มนักลงทุนเพื่อสังคมและผู้ให้ทุนที่อยู่ในยุโรป โดยร้อยละ 69 ต้องการผลตอบแทนด้านสังคมมากกว่าด้านการเงิน และร้อยละ 31 นั้นให้ความสำคัญกับผลตอบแทนด้านสังคมและด้านการเงินเท่าๆกัน

เราได้เน้น 7 การค้นพบที่น่าสนใจและแนวโน้มของภาคการร่วมทุนและการลงทุนเพื่อสังคม ดังนี้
ทุกรูปภาพนั้นอ้างถึงปีงบประมาณ (FY) 2558 เว้นแต่จะกล่าวว่าเป็นอย่างอื่น

1. ภาคส่วนนี้ยังคงเติบโตต่อไปแต่จำนวนเงินลงทุนต่อปีโดยเฉลี่ยนั้นยังคงที่

ผู้ตอบแบบสอบถามได้ลงทุนไปด้วยจำนวนเงินมากกว่า 6.5 พันล้านยูโรตั้งแต่มีการเริ่มให้การร่วมทุนและลงทุนเพื่อสังคม (VP/SI) (เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2013) โดยเฉลี่ยแล้ว บริษัทที่ให้สัมภาษณ์แบ่งสรรเงินจำนวน 7.8 ล้านยูโรให้กับการร่วมทุนหรือการลงทุนเพื่อสังคม (VP/SI)

(The message in the bracket below is translation of the caption in the picture in the article – Translator)
[การสนับสนุนทางการเงินโดยเฉลี่ยที่ได้มาจาก องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคมแก่บริษัทที่ลงทุนในปีงบประมาณ 2555-2558]

2. องค์กรที่ให้การร่วมทุน (Venture Philanthropy Organisations: VPOsS) ลงทุนในหลากหลายภูมิภาคในหลายภาคส่วน

องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคมที่เราสำรวจนั้นเน้นการลงทุนในยุโรปตะวันตก โดยมีการลงทุนในทวีปเอเชีย 6%ของการลงทุนทั้งหมด ประเด็นทางสังคมที่ตั้งเป้ากันโดยมากได้แก่ประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมาแรงกว่าประเด็นด้านการเข้าถึงทรัพยากรทางการเงิน การศึกษา สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
เมื่อรวมกันแล้วงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาทั้ง 5 ด้านนี้ รวมเป็น 79% ของเงินลงทุนทั้งหมด

3. การลงทุนร่วมได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556

การลงทุนร่วมกับบริษัทพันธมิตร [องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคม(VPOs) หรือนักลงทุนที่เน้นผลการทบต่อสังคมเป็นอันดับแรก] มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้มีการลงทุนร่วมในอดีต และหนึ่งในห้าของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าสนใจที่จะลงทุนร่วมเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะไม่เคยทำมาก่อน
(รูปภาพ)

4. องค์กรที่มีกองทุนและการลงทุนเพื่อสังคม (VP/SI) นั้นไม่ได้ขาดโอกาส ในการลงทุนและกำลังมีการพัฒนาในส่วนของขั้นตอนการคัดกรองข้อตกลง

ผู้ตอบแบบสอบถามได้คัดกรองกว่า 7520 ข้อเสนอที่มีศักยภาพ โดยเฉลี่ยแล้ว องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคม(VPO) นั้นจะคัดกรอง 86 องค์กร ทำการวิเคราะห์สถานะขององค์กรเป็นจำนวน 17 องค์กร และเลือกที่จะลงทุนกับ 9 องค์กร

5. การจัดสรรเงินทุนให้เหมาะสมคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคม (VPO) ในยุโรป

องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคมที่ตอบแบบสอบถามส่วนมากปรับเปลี่ยนแผนทางการเงินให้เป็นไปตามความต้องการของบริษัทที่ลงทุน โดย 60%ขององค์กร์ทั้งหมดนั้นทำทุกครั้งหรือทำเป็นประจำ

6. องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคม(VPOs) ไม่เพียงสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทที่ได้ลงทุน แต่ได้ให้การสนับสนุนที่ไม่ใช่ด้านการเงิน (NFS) อย่างหลากหลายอีกด้วย

การสนับสนุนที่ไม่ใช่ด้านการเงิน (NFS) ที่พบได้มากคือ การสนับสนุนเชิงกลยุทธ์และ ความช่วยเหลือด้านกลยุทธ์เพื่อก่อให้เกิดรายได้ ตามมาด้วยการสนับสนุนด้านการบริหารการเงิน

7. องค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคม(VPOs)มีความเข้าใจถึงวิธีจัดการให้เกิดผลกระทบทางสังคมมากขึ้น

96% ขององค์กรที่ลงทุนเพื่อสังคม(VPOs)ที่สำรวจชี้ว่าได้ประเมินประสิทธิภาพทางด้านสังคม ของบริษัทที่ได้ลงทุน/ผู้ได้รับประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่ทำครั้งเดียวหรือสองครั้งต่อปีในช่วงระยะเวลาการลงทุน

หากท่านสนใจในการค้นพบที่สำคัญเหล่านี้ ท่านสามารถดูรายงานเชิงโต้ตอบแบบใหม่ของเราทาง
http://evpa.eu.com/uploads/publications/EVPA-Interactive-Report-30.11.2016.pdf

________________________________________

อะเลซเซีย เจียนอนเชลลี่ (Alessia Gianoncelli) เป็นผู้จัดการฝ่ายวิจัยของสมาคมนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งยุโรป(EVPA) ที่กรุงบรัสเซลล์ เธอเคยทำงานที่สมาคมนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งยุโรป(EVPA)โดยเป็นนักวิเคราะห์นโยบายและการวิจัย และนักวิเคราะห์โครงการ เธอกลับเข้าร่วมองค์กรอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2559 ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมปี 2559 เธอได้เข้ารับการฝึกอบรมจากคณะกรรมาธิการยุโรปฝ่าย DG ECFIN หน่วย L2 ในด้านการจัดการทางการเงินเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรมและนโยบายการจ้างงาน
ก่อนหน้านี้ อะเลซเซียได้ฝึกงานที่หอการค้าอิตาลีในกรุงปารีสและ Unioncamere Piemonte ในกรุงบรัสเซลล์ ในปี 2551 ถึง 2558 เธอได้เป็นสมาชิกของ SeiPiù ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่อยู่ในพื้นที่ด้อยโอกาสของ เมืองTurin โดยได้ร่วมมือในฐานะผู้จัดการโครงการในปี 2556และ 2557 เธอมีประสบการณ์ในการเป็นอาสาสมัครมาสิบปี ในวงการ NGO และมีความสนใจในการจัดการผลกระทบทางสังคม อะเลซเซียสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากสถาบันและเขตปกครองจาก University of Turin และปริญญาโท 2 สาขาด้านการบริหารระหว่างประเทศ
และการจัดการดินแดนจาก UPEC ในปารีส

References

A. Environmental Stewardship
To protect the environment, we organize programmes like mangrove nursery and Reforestation, Coastal and River Clean-Up, Community Based Environmental Solid Waste Management, Environmental IEC Campaign and Eco-Academy

B. Food Security and Sustainable Livelihood
To ensure a sustainable livelihood for the community, eco-tourism include Buhatan River Cruise Visitor Center Buhatan River Mangrove Boardwalk are run by the community. Others include Organic Vegetable and Root crops Farming, Vegetable and Root crops Chips and by-products Processing and establishing a Zero waste store.

C. Empowered Communities
To empower the community, we provide product and Agri-Enterprise Development Training, Immersion and Learnings Exchange Program, Earth Warrior Training and Community Based Social Entrepreneurship Training

Author

Martina Mettgenberg-Lemiere

Martina Mettgenberg Lemiere, PhD, is Head and founding member of Insights and Capacity Building at AVPN’s Knowledge Centre. In this role, she and her team developed insights for impact assessment, capacity building, the social investment landscape in Asia and the education landscape in India and the continuum of capital initiative. She designs and runs workshops for AVPN and frequently speaks on social investing at Asian and global events. She also is a mentor and enterprise judge in several settings. Over the last 10 years, she lead applied research for social investors, businesses and non-profits focusing on human capital, education and impact at INSEAD, HCLI Singapore, Evalueserve India, and NGOs and investment agencies in Britain. She taught at Universities of Manchester and Sussex and holds a PhD from Manchester Business School and an MSc and BA (Hons) in Anthropology from the University of Sussex and Manchester respectively.

Did you enjoy reading this?

You might also be interested in

Blog

Why Gender Mainstreaming and Health Systems Strengthening is Important for International Eye Health Development

Blog

Social Investing in Asia: What has Worked?

Blog

Gender Lens Investing Series: SEAF on Busting Misconceptions with a Proven Investment Strategy