WE ARE SOLDOUT

Days
Hrs
Mins
Secs

Blog

นวัตกรรมสังคม: สิ่งที่เรียนรู้จากสิงคโปร์

By

Martina Mettgenberg-Lemiere

Share

4 มกราคม 2560
โดย โนออร์ ฮานิส ฮารุน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมาเลเซีย (Agensi Inovasi Malaysia: AIM) ได้จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพให้กับทีมนวัตกรรมสังคมของตน เพื่อเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 5 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2559 โดยวัตถุประสงค์โดยรวมของโครงการเสริมสร้างศักยภาพนี้ คือเพื่อให้ประเทศมาเลเซีย

1.กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้สำเร็จ
2.ริเริ่มรูปแบบการจัดหาเงินทุนทางสังคมที่แข็งแกร่ง
3.บำรุงและรักษาองค์กรที่เน้นผลประโยชน์ต่อสังคม (social purpose organisations: SPOs) ผ่านทางการกำกับดูแลเชิงกลยุทธ์ของความก้าวหน้าทางสังคม
4.ขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาและเพิ่มอุปสงค์และอุปทานของภาคสังคม
โดยเป้าหมายเหล่านี้สามารถทำให้สำเร็จได้โดยปฏิบัติตามโมเดลที่ประสบความสำเร็จในประเทศ สิงคโปร์ จากคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

(Photo description:
ชาซาน่าและคิมเบอลีย์ (Shazana and Kimberly) ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมของเรากำลังดูกล่องอักษรเบรลล์ B5(Braille Box B5) ซึ่งเป็นต้นแบบเครื่องพิมพ์สำหรับผู้พิการ (PWD) ระหว่างการเยี่ยมชมนิทรรศการ Access Ability Design for Dignity จัดโดยสถานทูตสวีเดนและสถาบันสวีเดนในประเทศสิงคโปร์ นิทรรศการนี้จัดขึ้นที่ศูนย์การออกแบบแห่งชาติสิงคโปร์)

เราได้เข้าเยี่ยมชมองค์กรที่โดดเด่นที่สุดในสิงคโปร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University) ศูนย์การออกแบบแห่งชาติ, Garena, DBS Asia X และ Enabling Village และสถานที่อื่น ๆ อีกมากมาย โครงการเสริมสร้างศักยภาพ 5 วันนี้ เต็มไปด้วยการพบปะกับกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีส่วนร่วมในนวัตกรรมทางสังคม และการจัดหาเงินทุนทางสังคมในสิงคโปร์ด้วยการสนับสนุนจากเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย(AVPN)

กลุ่มของเราได้มีโอกาสในการอธิบายเกี่ยวกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมาเลเซีย (AIM) และสิ่งที่พวกเราได้ริเริ่มในประเทศของเราเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมทางสังคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวาระด้านการสร้างความเปลี่ยนแปลงของมาเลเซีย ทุกครั้งที่ฉันอธิบายถึงสิ่งที่เรากำลังทำกัน จิตใจของฉันก็แล่นไปกับความหมายอันกว้างของนวัตกรรมทางสังคม จากการได้ร่วมแสดงความเห็นในการประชุมกัน สิ่งที่เรามีเหมือนกันสิ่งหนึ่งคือ แต่ละภาคส่วน (ภาครัฐ, ภาคเอกชนและภาคสังคม) มักจะทำงานกันเฉพาะในองค์กรของตน ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะก่อให้เกิด ความร่วมมือกัน อีกทั้งไม่มีการแบ่งปันวิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จึงเป็นการขัดขวางการเกิดนวัตกรรมสังคม

Photo description:
ทีมของเราและโจนาธาน แทน (Jonathan Tan) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และการวิจัย (คนที่สองจากทางขวา) ในระหว่างการประชุมกับ RaiSE)

(

Photo description:
คณะได้พบปะกันดูรีน ชาฮ์แนซ (Dureen Shahnaz)(คนที่สี่จากทางซ้าย) และ นาธาชา การ์ชา(Natasha Garcha) (คนที่สองจากทางขวา)ในระหว่างการเยือนงาน Impact Invesment Exchage(IIX) และสำนักงาน ชูจ็อก (Shujog)

ในประเทศสิงคโปร์ งานของนวัตกรรมทางสังคมและกิจการเพื่อสังคมนั้นดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่ปัญหาเฉพาะเรื่องในแต่ละปี ตั้งแต่ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของผู้พิการ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ด้วยความร่วมมือกันอย่างดีของไตรภาค มันน่าตื่นเต้นมากที่ได้เห็นการเติบโตของนวัตกรรมทางสังคมในด้านเหล่านี้ การแก้ปัญหานั้นได้รับการสนับสนุนโดยเงินบริจาคหรือเงินอุดหนุน และความพร้อมของเงินอุดหนุนช่วยเพิ่มขีดความสามารถแก่ผู้ที่มีส่วนได้เสียที่จะแสดงฝีมือและนำเสนอวิธีที่สร้างสรรค์ และมีนวัตกรรมมากในการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ในบางกรณีนั้น การที่รัฐบาลมีบทบาทในการกำกับว่านวัตกรรมสังคมควรเกิดขึ้นในแง่มุมใด ผ่านทางนโยบายและการให้ทุน สามารถส่งผลให้เกิดการขาดแคลนกลุ่มผู้ประกอบการสังคมที่เข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ พวกเรายังได้เยี่ยมชม Enabling Village หรือ ศูนย์บริการครบวงจรและพื้นที่ชุมชนสำหรับผู้พิการ ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสำหรับผู้พิการเพื่อช่วยให้พวกเขาได้กลมกลืนกับผู้อื่นในสังคม การมีสถานที่แบบนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศสิงคโปร์นั้นจริงจังกับการทำให้มั่นใจว่าผู้พิการนั้นไม่ได้ถูกแยกออกจากชุมชน และพวกเขาได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกับผู้อื่น นวัตกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อบริการแก่คนพิการถูกจัดแสดงในห้องแสดงผลงาน และพวกเรายังได้รับโอกาสในการลองเก้าอี้ที่สร้างมาสำหรับเด็กที่มีอาการออทิสติกโดยเฉพาะ พวกเรายังได้ซื้องานฝีมือที่ทำโดยผู้พิการจากหนึ่งในห้องปฎิบัติการที่นั้นด้วย เป้าหมายโดยรวมของการมีสถานที่แห่งนี้คือการสร้างสังคมที่มีส่วนร่วมมากขึ้นและการก่อให้เกิดสังคมที่ให้ความสำคัญกับทุกคน

Photo description:
คณะกำลังพูดคุยกับแลร์รี่ ทชู(Larry Tchiou) (คนกลางภาพ) ซีอีโอของกิจการเพื่อสังคมที่ชื่อว่า Unframed ระหว่างการเยือน Media Pixel Lab ที่ศูนย์การออกแบบแห่งชาติสิงคโปร์

ในระหว่างการประชุมและเยี่ยมชมของเรา เราได้รับการแนะนำให้รู้จักกับไอเดียธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม ซึ่งผู้สร้างนวัตกรรมสังคมจำนวนมากทั้งจากองค์กรที่แสวงหาผลกำไรและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้นำเสนอมา พวกเรามีโอกาสได้พบกับองค์กรต่างๆ ที่ทำงานเพื่อสังคมและรูปแบบให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ได้แก่ Community Foundation of Singapore, UOB Venture Management Private Limited และ SymAsia.

นอกจากนี้ พวกเรายังได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่ผู้มีรายได้สูงในประเทศสิงคโปร์ได้แบ่งสรรความมั่งคั่งของพวกเขาในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ แก่ประเด็นทางสังคมที่พวกเขาให้ความสำคัญ โดยมุ่งหวังเป้าหมายที่ใหญ่กว่า สิ่งนี้อาจจะสังเกตได้จากผลงานของ SimplyGiving.com ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับการกุศลหรือประเด็นเฉพาะกิจ และ Cambridge Associates ที่มุ่งเป้าไปที่การดำเนินการลงทุนโดยเน้นการแก้ปัญหา(Mission-Related Investing Practice: MRI) ให้ลูกค้า

จากการที่ได้มีโอกาสฟังและถามคำถามเกี่ยวกับนวัตกรรมทางสังคมในสิงคโปร์ ฉันจึงเข้าใจได้ว่าผู้ประกอบการทางสังคมส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันซึ่งมุ่งเน้นการตอบความต้องการที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็มและรักษาความยั่งยืนทางการเงินของบริษัทเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้น สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากสิงคโปร์เพื่อควบคุมความไม่แน่นอนของนวัตกรรมทางสังคม และมุ่งสู่รูปแบบการเงินเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ๆคืออะไร? บางทีรัฐบาลอาจมีส่วนร่วมในเชิงรุกมากขึ้น ด้วยการช่วยทำให้ผู้สร้างนวัตกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น กิจการเพื่อสังคม, ธุรกิจเพื่อสังคม, องค์กรที่มีเป้าหมายทางสังคม, องค์กรพัฒนาเอกชน(NGO) หรือแม้แต่บุคคลที่มีความต้องการในการทำให้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้รับความยืดหยุ่นบางประการที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จ มีคำกล่าวว่า ผู้สร้างนวัตกรรมทางสังคมต้องระลึกถึงการการวัดผลกระทบของการแก้ปัญหาสังคมในขณะที่ยังคงสร้างวิธีการแก้ปัญหาแบบนอกกรอบ โดยที่ต้องไม่ถูกจำกัดโดยงบประมาณที่ได้รับ หรือการอนุมัติจากรัฐบาล หรือพึ่งพิงเงินทุนของรัฐบาลมากเกินไป สิ่งที่กำลังดำเนินอยู่ในมาเลเซีย คือการฝึกอบรมนักพัฒนาทางสังคมเพื่อวัดผลกระทบโดยใช้เครื่องมือวัดผลกระทบทางสังคม(Social Impact Measurement Toolkit: SMIT) ดังนั้นผลกระทบและผลลัพธ์ของโครงการแก้ปัญหาทางสังคมแต่ละโครงการจึงสามารถแปลงเป็นจำนวนเงินเพื่อให้ผู้ให้ทุน/ผู้ให้บริจาคสบายใจว่าเงินของพวกเขาถูกใช้ไปอย่างไร การมีส่วนร่วมที่มากขึ้นจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้เกิดความร่วมมือในเชิงบวกซึ่งอาจปูทางให้แก่รูปแบบการจัดหาเงินทุนทางสังคมในอนาคต
________________________________________

อานิสมีประสบการณ์หลายปีในด้านการตลาดและการสื่อสารองค์กรก่อนที่จะทำงานให้กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมาเลเซีย (AIM) ในฐานะผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมทางสังคม

เธอเริ่มทำงานที่ AIM ในเดือนในเดือนมิถุนายนปี 2559 โดยมีหน้าที่หลักในการสนับสนุน วางแผน และจัดการโครงการที่มอบหมายให้แผนกนวัตกรรมทางสังคม เพื่อสนับสนุนวาระนวัตกรรมทางสังคมของประเทศให้สอดคล้องกับแผน Eleventh Malaysia Plan เธอเรียนวิชาเอกด้านประชาสัมพันธ์และได้ทำงานในบริษัทสิ่งพิมพ์ในท้องถิ่นไม่กี่แห่ง อาทิ Utusan Melayu Berhad, Star Publications Berhad และ Kosmo! เธอชอบการปีนเขาและได้รับการรับรองให้เป็นนักดำน้ำแบบ open-water ระดับสูง

References

A. Environmental Stewardship
To protect the environment, we organize programmes like mangrove nursery and Reforestation, Coastal and River Clean-Up, Community Based Environmental Solid Waste Management, Environmental IEC Campaign and Eco-Academy

B. Food Security and Sustainable Livelihood
To ensure a sustainable livelihood for the community, eco-tourism include Buhatan River Cruise Visitor Center Buhatan River Mangrove Boardwalk are run by the community. Others include Organic Vegetable and Root crops Farming, Vegetable and Root crops Chips and by-products Processing and establishing a Zero waste store.

C. Empowered Communities
To empower the community, we provide product and Agri-Enterprise Development Training, Immersion and Learnings Exchange Program, Earth Warrior Training and Community Based Social Entrepreneurship Training

Author

Martina Mettgenberg-Lemiere

Martina Mettgenberg Lemiere, PhD, is Head and founding member of Insights and Capacity Building at AVPN’s Knowledge Centre. In this role, she and her team developed insights for impact assessment, capacity building, the social investment landscape in Asia and the education landscape in India and the continuum of capital initiative. She designs and runs workshops for AVPN and frequently speaks on social investing at Asian and global events. She also is a mentor and enterprise judge in several settings. Over the last 10 years, she lead applied research for social investors, businesses and non-profits focusing on human capital, education and impact at INSEAD, HCLI Singapore, Evalueserve India, and NGOs and investment agencies in Britain. She taught at Universities of Manchester and Sussex and holds a PhD from Manchester Business School and an MSc and BA (Hons) in Anthropology from the University of Sussex and Manchester respectively.

Did you enjoy reading this?

You might also be interested in

Blog

10 Steps to Assess High Quality Nature-Based Solution Projects and Credits

Blog

How Corporates Can Find the Right Approach to Do Better

Blog

In the Fight for Gender Equality, Nutrition Is Key